วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จาก P-D-C-A เป็น D-M-A-I-C

ท่านผู้อ่านคงเคยคุ้นตากับแนวคิดของ PDCA (Plan,Do,Check,Action) ในสมัยที่เรียนปริญญาตรีกันไปแล้ว บางคนอาจจะนึกในใจว่า "เอ๊ะ ! อะไร PDCA ชั้นเคยเรียนมาด้วยเหรอเนี่ยะ รู้จักแต่ RCA กับ Y.M.C.A" ไม่เป็นไรครับเข้าใจว่าเวลาผ่านไปเซลล์สมองเราก็เริ่มเสื่อมไปตามสภาพกาลเวลาบ้าง วันนี้ผมมีสินค้าใหม่มาเสนอให้คุณได้ลองใช้ดู นั่นก็คือ DMAIC (Define,Measure,Analyze,Improvement,Control) ซึ่งนำมาจากคอนเซปของ Six Sigma ซึ่งผมได้มีโอกาสสัมผัสและได้ใช้มาเมื่อสมัยทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม นี่เป็นขั้นตอนของการเรียบเรียงกระบวนการทางความคิดและการปฏิบัติที่วงการอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบันน่าจะใช้กันมากกว่า PDCA ผมขออธิบายถึงรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนให้เพื่อนๆได้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้นนะครับ

Define คือ ขั้นตอนของการนิยามหรือกำหนดปัญหา เลือกโครงการที่จะทำการปรับปรุงหรือออกแบบ ทั้งนี้เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลักด้วย เพื่อให้โครงการที่เลือกทำนั้นเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ ทำแล้วคุ้มค่า ตรงประเด็นไม่เสียเวลา
Measure คือ ขั้นตอนการวัด เช่นวัดความสามารถของกระบวนการ วัดของเสีย วัดประสิทธิผล ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ
Analyze คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์(จากข้อมูลที่วัดมาได้)เพื่อหาหรือพิสูจน์ตัวแปรที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ (Key process variable)ที่เป็นต้นตอสาเหตุของปัญหาที่นิยามไว้ เช่น การทำไม่ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า หรือเป้าหมายการออกแบบที่กำหนด ฯลฯ ในขั้นตอนนนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะถ้าหาตัวแปรไม่เจอหรือหาผิดก็ไม่อาจจะปรับปรุง หรือปรับปรุงผิดที่ หรือถือว่าจ่ายยาไม่ถูกโรคได้ถ้าวินิจฉัยโรคผิดและถ้าหากเผอิญเป็นโรคร้ายแรงก็อาจจะทำให้แก้ไขไม่ทันการเหมือนกัน
Improve คือขั้นตอนของการปรับปรุง (Action นั่นแหละ) หลังจากที่เราจับตัวแปรที่มีผลมากๆหรือสำคัญๆได้แล้ว เราก็ลงมือแก้ไข/ปรับปรุง เพื่อขจัดสาเหตุที่วิเคราะห์ได้ หรือในการออกแบบขั้นนี้จะเป็นการออกแบบกระบวนการ /ผลิตภัณฑ์ เพื่อขจัดหรือควบคุมตัวแปรที่วิเคราะห์ได้
Control คือ ขั้นตอนของการควบคุม เพื่อมห้กระบวนการนั้นนิ่ง หมายถึงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่นิ่งๆแบบไม่ต้องทำอะไรแล้ว หรือถ้าเป็นการ ออกแบบก็คือขั้นตอนของการทวนสอบผลการออกแบบและควบคุมการดำเนินการต่อไปเช่นกัน ทำให้สม่ำเสมอ สิ่งที่ทำได้ดีแล้วก็รักษาไว้ให้ตลอดรอดฝั่ง ไม่ใช่ทำๆหยุดๆ


กระบวนการ กิจกรรมที่ดำเนินการ เครื่องมือต่างๆที่นิยมนำมาใช้
Define -แต่งตั้งทีมงาน -New 7 Tools
-นิยามปัญหา -Quality Function Deployment(FQD)
-หาความต้องการ ลูกค้า/องค์กร -ผังกระบวนการ

-ตั้งเป้าหมาย -Process Mapping
-การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)
-วิศวกรรม/การวิเคราะห์คุณค่า (VA/VE)
-ผังพาเรโต
-การระดมสมอง (Brainstroming)
-Technique
-การเปรียบวัด (Bemchmarking)
-ต้นทุนคุณภาพ
Measure -วัดขั้นตอน input ที่สำคัญ -ผังควบคุม (Control Chart)
-รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์พิสูจน์ปัญหา -ผังพาเรโต
-Run chart
-Process Mapping
-Gage R&R
-Check Sheets
-Box plot
-ดัชนีวัดผลงาน (KPI , Balanced Scorecard)
Analyze -พิสูจน์ปัญหา -การวิเคราะห์ระบบการวัด(Measurement system analysis)
-หาต้นตอของความแปรปรวน -การออกแบบการทดลอง (DOE)
-การวิเคราะห์ความสามารถกระบวนการ Cp Cpk
-การวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA)
-New 7 Tools
-วิศวกรรม/การวิเคราะห์คุณค่า (VA/VE)
-ผังก้างปลา (Cause &Effect diagrame)
-แผนภูมิต้นไม้ (Fault Tree Analysis)
-การวิเคราะห์จุดที่ติดขัด (Theory of Constrain)
-การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Correlation Analysis)
-การจำลองกระบวนการ (Process Simulation)
-ANOVA
-การทดสอบสมมติฐาน
Improve -กำหนดวิธีกำจัดต้นตอของสาเหตุและนำไปดำเนินการ -การวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA)
-ทดสอบการดำเนินการ -New 7 Tools
-จัดทำมาตรฐานของผลการดำเนินการ -การออกแบบการทดลอง (DOE)
-Evolutionary operations(EVOP)
-การจำลองกระบวนการ (Process Simulation)
-การป้องกันข้อผิดพลาด (Mistake proofing,Poka-Yoke)
Control -จัดทำแผนควบคุม (Control plan) -การป้องกันข้อผิดพลาด (Poka-Yoke) -เฝ้าติดตามการดำเนินการ -ผังควบคุม (Control Chart)
-การควบคุมด้วยกระบวนการทางสถิติ (SPC)
-การวิเคราะห์ความสามารถ

ขอเป็นกระบอกเสียงช่วยประชาสัมพันธ์เรื่อง Six Sigma นิดนึง เพราะบางคน คิดว่าสถิติน่าจะเกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ดังนั้นงานบริการด้านต่างๆจึงไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งจริงๆแล้วการนำ Six Sigma ไปใช้นั้นไม่มีข้อจำกัด อุตสาหกรรมหรือการบริการก็ใช้ได้ดี ซึ่งถ้าจะให้เปรียบเทียบกันจริงๆแล้วคุณภาพของงานบริการถือว่าส่งผลถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วกว่าอุตสาหกรรมการผลิตเสียอีก ดังนั้นหลายๆประเทศจึงฮิตที่จะนำ Six Sigma ไปใช้ปรับปรุงงานบริการค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านบริการรักษาสุขภาพ (โรงพยาบาลต่างๆ) ธุรกิจประกัน ธุรกิจการเงิน การธนาคารเป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยถือว่าตื่นตัวได้ช้าเฉกเช่นเดียวกับเมื่อสมัย ISO 9000 เข้ามาในประเทศไทยใหม่ๆนั่นเอง